หน้าเว็บ

วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

 



โขนโรงใน ได้รับการปรับปรุงผสมผสานโขนกับการแสดงละครใน โดยนำเอาการขับร้องเพลงตามแบบละครในมาร้องแทรกในโขนด้วย และยังมีการแสดงแบบจับระบำรำฟ้อนเช่นเดียวกับละครใน จึงเรียกว่า โขนโรงใน โขนโรงในต้องมีโรงสำหรับแสดงและมีฉากหลังเป็นม่านแบบในละครใน การแสดงมีบทพากย์เจรจาแบบโขนและมีการขับร้องแบบละครใน มีเตียงสำหรับตัวแสดงนั่งแบบละครใน เวลาร้องเพลงและบรรเลงปี่พาทย์ต้องมีการตีกรับเป็นจังหวะแบบละครใน ปี่พาทย์ที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงโขนหน้าจอใช้ปี่กลางที่มีเสียงสูง ไม่เหมาะสำหรับการแสดงโขนโรงในเนื่องจากปี่กลางเสียงสูงเกินไป ไม่เหมาะแก่การขับร้อง ปี่กลางจึงถูกเปลี่ยนมาเป็นปี่ในตามเสียงที่ลดลงมา วงปี่พาทย์ที่บรรเลงประกอบการแสดงโขนโรงในนั้นมีเพียงวงเดียว แต่จะเป็นวงปี่พาทย์ชนิดใดก็ขึ้นอยู่กับฐานะของงานนั้นๆด้วย

 









โขน เป็นศิลปะการแสดงชั้นสูงของไทยที่มีความสง่างาม อลังการและอ่อนช้อย การแสดงประเภทหนึ่งที่ใช้ท่ารำตามแบบละครใน แตกต่างเพียงท่ารำที่มีการเพิ่มตัวแสดง เปลี่ยนทำนองเพลงที่ใช้ในการดำเนินเรื่องไม่เหมือนกับละคร แสดงเป็นเรื่องราวโดยลำดับก่อนหลังเหมือนละครทุกประการ ซึ่งไม่เรียกการแสดงเหล่านี้ว่าละครแต่เรียกว่าโขนแทน[1] มีประวัติยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา[2] จากหลักฐานจดหมายเหตุลาลูแบร์ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้มีการกล่าวถึงการแสดงโขนว่า เป็นการเต้นออกท่าทาง ประกอบกับเสียงซอและเครื่องดนตรีประเภทต่าง ๆ ผู้แสดงจะสวมหน้ากากปิดบังใบหน้าตนเองและถืออาวุธ[